ผลิตภัณฑ์ส่วนบุคคลและเครื่องสำอางค์

ชนิดของการใช้งานในส่วนผลิตภัณฑ์ส่วนุคคลและเครื่องสำอาง

  • ผลิตภัณฑ์ดูแลเด็ก
  • ผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคล
  • เครื่องสำอาง/เมคอัพ
  • ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้า
  • ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม
  • ผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปาก
  • ผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดด
  • ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในห้องน้ำ

ชนิดของผลิตภัณฑ์เคมีจาก บริษัท เอ็คโทซี เคมิคัลส์ จำกัด

  • สารออกฤทธิ์
  • กลุ่มเอมีน
  • สารช่วยจับประจุโลหะ
  • อิมัลซิไฟเออร์
  • น้ำมันหอมระเหย
  • กลุ่มแฟตตี้ แอลกอฮอล์
  • สารผสมที่ให้กลิ่นหอม
  • สารช่วยให้ทึบหรือขุ่น
  • โพลิเมอร์ และสารเพิ่มความข้นหนืด
  • สารกันเสีย
  • ซิลิโคน
  • สารลดแรงตึงผิว

สารออกฤทธิ์ (Active ingredients)

คุณสมบัติ:

  • กลุ่มมอยสเจอร์ไรเซอร์ (ทำให้ผิวมีความอ่อนนุ่ม กักเก็บความชุ่มชื้น และผิวเรียบลื่น)
  • กลุ่มสารเติมไฮโดรเจนต่างๆ
  • กลุ่มที่ช่วยรักษาสิว
  • กลุ่มช่วยต่อต้านริ้วรอย ความแก่ของผิว
  • กลุ่มที่ช่วยทำให้ผิวแลดูขาว กระจ่างใส
  • กลุ่มสารสกัดจากพืช
  • กลุ่มไลโปโซม
  • กลุ่มอื่นๆ

กลุ่มสารเอมีน (Amines group)

คุณสมบัติ:

  • ช่วยในการสร้างอิมัลชันโดยการลดแรงตึงผิวของสารที่จะถูกผสมกับอิมัลชัน เพื่อให้ส่วนผสมที่ละลายในน้ำและที่ละลายในน้ำมันสามารถผสมเข้าด้วยกัน
  • ปรับค่า pH ของกลุ่มสินค้าเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิว
  • สารลดแรงตึงผิวและสารบำรุงเส้นผมหรือผิวหนัง เอทาโนลามีน ทำหน้าที่เป็นตัวปรับค่า pH
  • เกลือทำหน้าที่เป็นสารลดแรงตึงผิว เกลือเอทาโนลามีน บางชนิดทำหน้าที่เป็นตัวปรับค่า pH ใช้ในน้ำยาจัดแต่งทรงผมหรือสารกันบูด
  1. โมโนเอทาโนลามีน (MEA)
  2. ไดเอทาโนลามีน (DEA)
  3. ไตรเอทาโนลามีน (TEA)

สารช่วยจับประจุโลหะ (Chelating Agents)

คุณสมบัติ:

  • จับตัวกับไอออนของโลหะหรือสารประกอบโลหะ ป้องกันการปนเปื้อนหรือการเปลี่ยนสีของสินค้า
  • ปรับปรุงประสิทธิภาพของสารกันเสียและสารต้านอนุมูลอิสระ มีบทบาทสำคัญในการให้ความคงตัวและประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ดูแลผิว
  1. ไดโซเดียม อีดีทีเอ (Disodium EDTA;EDTA-2Na) ใช้ในผลิตภัณฑ์ที่เป็นกลางถึงเป็นกรดอ่อน
  2. เตเตระโซเดียม อีดีทีเอ (Tetrasodium EDTA; EDTA-4Na) เหมาะสำหรับผลิตภัณฑ์ที่เป็นด่าง

อิมัลซิไฟเออร์ (Emulsifiers)

คุณสมบัติ:

  • อิมัลซิไฟเออร์ ประกอบด้วยส่วนผสมใดๆ ที่ช่วยให้ส่วนผสมที่ไม่ละลายซึ่งกันและกันรวมกันได้ (เช่น น้ำมันและน้ำ) ซึ่งเมื่อผสมแล้วจะอยู่ในรูปของอิมัลชั่น

น้ำมันหอมระเหย (Essential Oils)

คุณสมบัติ :

  • ใช้ในการฟื้นฟูหรือการบำบัดด้วยกลิ่นหอม ซึ่งมีสรรพคุณในการรักษา เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ใช้สารสกัดน้ำมันหอมระเหยจากพืช เพื่อใช้บำรุงและดูแลสุขภาพให้ดีขึ้น
  • น้ำมันจะจับกลิ่นและรสของพืช หรือ “เอสเซนส์” สารประกอบที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ช่วยให้น้ำมันหอมระเหยมีลักษณะสำคัญเฉพาะตัว
  • การดมกลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหย สามารถกระตุ้นส่วนต่างๆ ของระบบลิมบิก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสมอง ที่มีบทบาทในด้านอารมณ์ พฤติกรรมการรับรู้กลิ่น และความจำระยะยาว

กลุ่มแฟตตี้แอลกอฮอล์ (Fatty Alcohols; Consistency wax)

คุณสมบัติ:

  • ใช้เพื่อปรับปรุงลักษณะเนื้อสัมผัสของผลิตภัณฑ์ของเหลว และเพื่อเพิ่มความสามารถในการเกิดฟองหรือเพื่อรักษาความคงตัวของฟอง

สารผสมที่ให้กลิ่นหอม (Fragrances)

คุณสมบัติ:

  • สารผสมที่ให้กลิ่นหอม ช่วยสร้างประโยชน์ที่สำคัญ ใช้อย่างแพร่หลาย สามารถจับต้องได้และมีคุณค่า สารผสมที่ให้กลิ่นหอมช่วยแก้ปัญหาการทำงานที่สำคัญและตอบสนองความต้องการทางอารมณ์ และยังสามารถสื่อสารความรู้สึกที่ซับซ้อน – สร้างอารมณ์ สื่อความรู้สึกถึงความสะอาด ความสดชื่น หรือความนุ่มนวล บรรเทาความเครียด และกระตุ้นให้เกิดเสน่ห์และแรงดึงดูด
  • ผลิตภัณฑ์ฉีดบนผิวกายและเส้นผม (FINE FRAGRANCES)
    – น้ำหอมฉีดกาย
    – น้ำหอมฉีดเส้นผม
    – เพอร์ฟูม
    – โคโลญน์
  • ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการความเป็นธรรมชาติ (NATURAL CARE FRAGRANCES)
    – สำหรับกลุ่มที่ต้องการสารผสมที่ให้กลิ่นจากธรรมชาติ
    – เนเชอรัล
    – ออร์แกนิค
  • เครื่องสำอาง (PERSONAL CARE & COSMETICS FRAGRANCES)
    – เครื่องสำอางหรือ เมคอัพ
    – กลุ่มดูแลเส้นผม
    – มาร์คหน้า หรือกาย
    – ใช้กับช่องปากหรือริมฝีปาก (FEMA GRAS (FOOD GRADE) FRAGRANCES)
    – กลุ่มดูแลผิวกาย
    – กลุ่มกันแดด
    – กลุ่มชำระล้างผิวกายหรือเส้นผม
  • ผลิตภัณฑ์เฉพาะ ตามความต้องการของลูกค้า (TAYLOR MADE)
  • ผลิตภัณฑ์กลุ่มอื่นๆ (OTHERS)
    – สำหรับกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ต้องการการปราศจากสารก่อภูมิแพ้
    – ผลิตภัณฑ์เด็ก
    – ผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว์เลี้ยง

สารช่วยให้ทึบหรือขุ่น (Opacifier)

คุณสมบัติ:

  • ทำให้ผลิตภัณฑ์มีลักษณะทึบหรือขุ่น เป็นที่น่าพอใจ ให้ความรู้สึกหรูหรา ลักษณะสีครีม ที่มีความเป็นเนื้อเดียวกัน

โพลิเมอร์ & สารเพิ่มความข้นหนืด (Polymers & Rheology Modified or Thickeners)

คุณสมบัติ :

  • เพิ่มความคงตัวและความหนืดของผลิตภัณฑ์

สารกันเสีย (Preservatives)

คุณสมบัติ:

  • ป้องกันความเสียหายของผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากจุลินทรีย์ และเพื่อปกป้องผลิตภัณฑ์จากการปนเปื้อนโดยไม่ตั้งใจของผู้บริโภคระหว่างการใช้งาน

ซิลิโคน (Silicones)

  1. ซิลิโคนกลุ่มอะมิโน (Amino Silicones)
    คุณสมบัติ:
    – เพิ่มความนุ่มและลื่น ง่ายต่อการหวีผมขณะเปียกและแห้ง
    – ฟื้นฟูผมเสียอย่างล้ำลึก
    – ให้ความรู้สึกนุ่มลื่นดุจเส้นไหมในรูปแบบเฉพาะตัว
    – เพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันผมจากความร้อน และให้ความวาว
    – ช่วยให้ความรู้สึกผมโวลุ่ม และเรียบลื่น
  2. ซิลิโคนกลุ่มโพลีอีเทอร์ (Polyether Silicones)
    คุณสมบัติ:
    – ลดการระคายเคือง ปรับปรุงเนื้อโฟม ให้ความรู้สึกไม่เหนียวเหนอะหนะ
    – ให้ความนุ่มชุ่มชื้นและทำให้เกิดความวาว
    – ช่วยให้ผมเปล่งประกายเงางาม นุ่มลื่นดุจแพรไหม
  3. ซิลิโคนกลุ่มอะมิโน โพลีอีเทอร์ (Amino Modified Polyether Silicones)
    คุณสมบัติ:
    – ช่วยให้ผมเรียบลื่นอย่างดีเยี่ยม ง่ายต่อการหวี ทั้งขณะเปียกและแห้ง
    – ช่วยลดการชี้ฟูของเส้นผม
    – สามารถใช้กับกลุ่มผมที่ย้อมสีบ่อยๆ
  4. ซิลิโคนกลุ่มแอลคิล (Alkyl Silicones)
    คุณสมบัติ:
    – ให้ความรูสึกเรียบเนียน และไม่เหนียวเหนอะหนะ
    – ให้ความนุ่มชุ่มชื้น
    – ช่วยให้เกิดการกระจายตัวที่ดีของพิกเม้นท์และส่วนผสมที่เป็นออยล์ในสูตร ช่วยลดแรงตึงผิว
    – ช่วยให้ผมเลื่น
    – ให้การหล่อลื่นและเปล่งประกายอย่างดีเยี่ยม
    – จุดหลอมเหลวสูง เหมาะแก่การทำ Thixotropic
  5. ซิลิโคนกลุ่มฟีนิล (Phenyl Silicones)
    คุณสมบัติ:
    – เพิ่มความเงางามและความรู้สึกเรียบลื่นให้ผม
    – เข้ากันได้กับส่วนผสมอินทรีย์หลายๆ ชนิด
    – ดัชนีการหักเหของแสงสูง
    – การเกลี่ยง่าย
    – ให้ความชุ่มชื้นที่ ติดทนและยาวนาน
    – เข้ากันได้กับส่วนผสมอินทรีย์หลายๆชนิด
    – ดัชนีการหักเหของแสงสูง
  6. ซิลิโคนอิมัลชั่น (Silicone Emulsions)
    คุณสมบัติ:
    – เพิ่มความเรียบเนียน นุ่มและโวลุ่ม ของเส้นผม
    – ซ่อมแซมผมที่เสียอย่างล้ำลึก
    – เพิ่มความนุ่มและลื่น ง่ายต่อการหวีผมขณะเปียกและแห้ง
    – สามารถใช้ในสูตรผลิตภัณฑ์ที่โปร่งใสได้
    – มีคุณสมบัติการเคลือบแบบฟิล์มที่ผมหรือผิวได้ดี
    – ช่วยยืดอายุของการเปลี่ยนสีของเส้นผม
    – จากผลของอิมัลชันอนุภาคขนาดใหญ่และต่างกัน ทำให้ผมเรียบลื่นและง่ายต่อการหวีผมขณะเปียกหรือแห้ง
    – ให้ความรู้สึกนุ่มและเรียบลื่นของผม ที่เป็นเอกลักษณ์
    – เพิ่มความสว่างกระจ่าง เรียบลื่นดุจแพรไหม และช่วยปรับสภาพเส้นผมให้นุ่มสลวย
    – ช่วยให้ผมสดชื่น ป้องกันผมแห้ง ไม่ชี้ฟู
  7. ซิลิโคนกลุ่มพื้นฐาน (Basic Silicones)
    คุณสมบัติ:
    – ให้ความสามารถในการระเหยและการเกลี่ย การกระจายตัวที่ดีเยี่ยม, ลดแรงตึงผิว และไม่เหนียวเหนอะหนะ
    – กลุ่มความหนืดปานกลาง คงความเสถียรของสารเคมีและอื่นๆ ในสูตรอย่างดีเยี่ยม
    – กลุ่มความหนืดสูง ช่วยปรับปรุงการหวีทั้งแบบผมเปียกและผมแห้ง และให้ความวาว ความนุ่ม และไม่เหนียวเหนอะหนะ
    – ให้ความนุ่มชุ่มชื้น นุ่มเหมือนกำมะหยี่ ไม่เหนียวเหนอะหนะ ด้วยความคงทนของฟิล์ม
  8. ซิลิโคนกลุ่มผสม (Silicone Blends)
    คุณสมบัติ:
    – เพิ่มความนุ่มของเส้นผม และง่ายต่อการหวีทั้งใน ขณะเปียกหรือแห้ง ไม่เหนียวเหนอะหนะ
  9. ซิลิโคนกลุ่มโพลีเอสเทอร์ (Polyester Silicones)
    คุณสมบัติ:
    – ช่วยลดการระคายเคือง ปรับปรุงเนื้อโฟม และไม่เหนียวเหนอะหนะ
    – ช่วยเพิ่มความนุ่มชุ่มชื้น
    – Soothing effect
  10. ซิลิโคน อีลาสโตเมอร์ Silicone Elastomer
    คุณสมบัติ:
    – เป็นเอกลักษณ์ เรียบเนียนนุ่ม รู้สึกหรูหรา และไม่เหนียวเหนอะหนะ เข้ากันได้กับส่วนผสมอินทรีย์หลายๆ ชนิด
    – ให้ความข้นหนืด
  11. ซิลิโคน เรซิน และอื่นๆ
    คุณสมบัติ:
    – อิมัลชันขนาดอนุภาคขนาดใหญ่ ให้ความเรียบเนียน
    – ง่ายต่อการการหวีผมทั้งในขณะเปียกและแห้ง
    – มีการเกลี่ยและกระจายตัวที่ดีเยี่ยม ให้สัมผัสนุ่มเนียนต่อผิวกาย และช่วยต่อต้านริ้วรอย
    – ให้ความนุ่มและเรียบลื่น ความรู้สึกยืดหยุ่นที่เป็นเอกลักษณ์
    – ให้สัมผัสที่เป็นแบบด้าน ไม่วาว

สารลดแรงตึงผิว (Surfactants)

คุณสมบัติ:

  • ใช้เป็นสารชำระล้าง
  • ช่วยทำให้ส่วนผสมเข้ากัน
  • ให้ฟอง
  • ใช้เป็นสารเพิ่มความหนืด
  • เป็นสารทำให้เกิดอิมัลชัน

โดยแบ่งเป็นกลุ่มต่างๆดังนี้

  1. สารลดแรงตึงผิวแบบที่มีทั้งประจุบวกและประจุลบ
  2. สารลดแรงตึงผิวแบบไม่มีประจุ และสารลดแรงตึงผิวแบบฟองปริมาณน้อย
  3. สารลดแรงตึงผิวแบบประจุลบ
  4. สารลดแรงตึงผิวแบบประจุบวก
  5. สารลดแรงตึงผิวจากธรรมชาติ และอ่อนโยน
  6. สารลดแรงตึงผิวเฉพาะด้าน